การออกแบบกราฟิกในงานใดๆ ก็ตามย่อมมีวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่แตกต่างกัน ลักษณะเฉพาะหรือเงื่อนไขต่างๆของงานและวิธีการดำเนินการจะต้องสอดคล้องกับปัจจุบันทุกด้าน ในการสร้างงานออกแบบจึงควรศึกษาถึงองค์ประกอบสำคัญหลายๆด้าน แนวทางในการคิดงานกราฟิก จะแปรเปลี่ยนไปตามลักษณะของสื่อหรืองานแต่ละประเภทที่มีข้อกำหนดเฉพาะ ซึ่งพอที่จะจัดหมวดหมู่ออกได้ดังนี้
1.งานกราฟิกบนสื่อโฆษณาสิ่งพิมพ์
1.1แผ่นป้ายโฆษณา (Poster)
-ต้องเป็นแผ่นโดดๆซึ่งสามารถปะติดลงบนพื้นผิวใดก็ได้
-ต้องมีข้อความประกอบเสมอ
-ต้องปิดไว้ในที่สาธารณะ
-ต้องผลิตขึ้นมาเป็นจำนวนมาก
*โปสเตอร์ที่ดีควรจะสนองแนวคิดหลัก 5 ประการ ได้แก่
1)จะต้องตอบสนองจุดประสงค์ในการสื่อความหมายได้อย่างเต็มที่
2)จะต้องมีความชัดเจนในภาพลักษณ์และข้อความที่ใช้ในการสื่อความหมายต้องมีความกระจ่าง มีขนาดที่พอเหมาะกัน
3)รูปภาพและข้อความที่นำเสนอควรให้มีความสอดคล้องสัมพันธ์และส่งเสริมซึ่งกันและกัน
4)จะต้องสามารถเข้าใจ ดึงดูดความสนใจกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด
5)ต้องมีความกะทัดรัดและแสดงแนวคิดหลักเพียงอย่างเดียว
การออกแบบโปสเตอร์
-การกำหนดขนาด
-การกำหนดรูปภาพประกอบ
การกำหนดตัวอักษร
ตัวอักษรข้อความหรือตัวอักษรหัวเรื่องที่จะต้องกำหนดลงในงานออกแบบกราฟิก จะทำหน้าที่บรรยายข้อมูลสาระให้รับรู้การกำหนดตัวอักษรจึงต้องเน้นหนักที่ขนาดของตัวอักษร รูปแบบ และการกำหนดโครงสีบนตัวอักษรทั้งหมด
1.ขนาดของตัวอักษร
2.รูปแบบตัวอักษร
3.สีของตัวอักษร
3.1)ค่าน้ำหนักของสี
3.2)สีของตัวอักษรต้องไม่หลายสีเกินไปภายในหนึ่งหน้ากระดาษ
3.3)ควรใช้สีให้เหมาะกับคำหรือข้อความนั้นๆ
1.2แผ่นพับ ( Folders)
สื่อโฆษณาประเภทนี้จัดว่าเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ชนิดไดเร็คเมลล์ (Direct Mail) ที่บริษัทผู้ผลิตสินค้าจะส่งตรงถึงผู้บริโภคทั้งวิธีการทางไปรษณีย์ และการแจกตามสถานที่ต่างๆ ลักษณะเด่นของแผ่นพับก็คือมีขนาดเล็ก หยิบถือได้สะดวก สามารถให้ข้อมูลรายละเอียดได้มาก ผู้ดูสามารถเลือกเวลาใดก็ได้ในการหยิบขึ้นมาอ่าน ผู้ออกแบบมีเทคนิคในการออกแบบได้อย่างอิสระ หลากหลายและสวยงาม ค่าใช้จ่ายในการผลิตต่ำ จุดเด่นคือสามารถเลือกแจกได้ถึงกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะ ทำให้สื่อที่ผลิตขึ้นถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแท้จริง
วิธีการออกแบบ
แผ่นพับมีลักษณะเด่นคือสามารถพับได้หลายแบบ การพับแบบต่างๆทำให้ภาพลักษณ์ของสื่อเปลี่ยนแปลงไป แผ่นพับเมื่อพับแล้วจะมีหลายหน้าอย่างน้อย 4 หน้า และสามารถพับได้ถึง 80 หน้า แต่ส่วนใหญ่แล้วนิยมพับอย่างมาก 16 หน้า เนื่องจากจำนวนหน้าเกิดจากการแบ่งกระดาษด้วยการพับ จึงมักไม่นิยมใส่เลขหน้า ในการออกแบบกราฟิกจึงต้องพิจารณาถึงขนาดของข้อมูลอย่างชัดเจน ต้องแสดงลักษณะเฉพาะแต่ละหน้า และความสัมพันธ์ระหว่างหน้าอื่นๆที่จะพับมาต่อกันด้วย ถ้าผู้ออกแบบแบ่งสาระข้อมูลไม่ดี หรือวางหน้าไม่เหมาะสมจะทำให้ผู้ดูเกิดความสับสนในการอ่านเพราะลักษณะเฉพาะของแผ่นพับอาจทำให้ผู้ดูเปิดพลิกไปไม่ได้ การออกแบบที่ดีมักจะให้ข้อมูลแต่ละหน้าจบในตัวของมันเอง และสามารถเริ่มอ่านตรงส่วนใดก่อนก็ได้
1.3แผ่นปลิว ( Leaflets ) เป็นสื่อที่มีค่าใช้จ่ายในการผลิตราคาถูกที่สุด รูปแบบละลีลาของการออกแบบนำเสนอสาระข้อมูลของแผ่นปลิวไม่มีข้อจำกัดตายตัว จากการที่มีลักษณะของการผลิตที่ใช้ค่าใช้จ่ายน้อย ทำให้สามารถผลิตขึ้นได้ครั้งละจำนวนมาก จึงได้รับความนิยมในการนำมาเป็นสื่อในการสื่อสารเพื่อให้ถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวางทั้งในรูปแบบของการแจกโดยบุคคล หรือวิธีการใช้เฮลิคอปเตอร์โปรยสู่กลุ่มประชาชน ซึ่งทำให้ได้รับความสนใจได้มาก ขนาดของแผ่นปลิวมีขนาดไม่แน่นอนทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเนื้อหาสาระที่ต้องการนำเสนอ
1.4บัตรเชิญ ( Cards ) บัตรเชิญเป็นสื่อโฆษณาอีกประเภทที่มีบทบาทในวงการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การออกแบบกราฟิกทางด้านบัตรเชิญดำเนินไปอย่างกว้างขวาง นักออกแบบจะพยายามสร้างรูปแบบแปลกใหม่ที่จะท้าทายให้ผู้ได้รับเชิญเกิดความรู้สึกอยากรู้อยากเห็น อยากสัมผัส บัตรเชิญเรียกได้ว่าสื่อเฉพาะกิจจะใช้ในโอกาสสำคัญๆ เช่น เชิญเปิดร้าน เชิญปิดกิจการ เปิดนิทรรศการ การแสดงต่างๆ หรือการโชว์สินค้า
2.งานกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์
บรรจุภัณฑ์มีหน้าที่หลักคือเป็นตัวภาชนะสำหรับบรรจุสินค้า มีหลายรูปแบบแตกต่างกันไปตามลักษณะของสินค้า เช่น เป็นหีบห่อ เป็นกล่อง เป็นขวด เป็นลัง เป็นกระป๋อง ฯลฯ การออกแบบบรรจุภัณฑ์แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 3 กลุ่มตามลักษณะหน้าที่ดังนี้
1)บรรจุภัณฑ์สำหรับการค้าปลีก
2)บรรจุภัณฑ์เพื่อการค้าส่ง
3)บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง
การออกแบบฉลากสินค้า
ฉลากสินค้าจะติดมากับตัวสินค้าที่บรรจุมาในรูปขวด กล่อง ห่อ กระป๋อง หรือรูปแบบอื่นตามลักษณะและประเภทของสินค้า ฉลากสินค้าจะช่วยให้ผู้บริโภคได้ทราบถึงรายละเอียดต่างเกี่ยวกับสินค้านั้นอย่างมาก ในบางครั้งฉลากสินค้าจะช่วยให้สามารถสมมารถตัดสินใจเลือกซื้อเลือกใช้สินค้าได้ รายละเอียดที่ปรากฏบนฉลาก ได้แก่ ชื่อผลิตภัณฑ์ ชื่อบริษัท ที่อยู่ของผู้ผลิต ประเภท ชนิด สี ของวัสดุที่ใช้ ขนาดน้ำหนักหรือปริมาตร ส่วนผสม วิธีใช้ หรือสรรพคุณ
วิธีการออกแบบ
การออกแบบฉลากจะต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดและเงื่อนไขหลายอย่าง นักออกแบบจะสร้างภาพลักษณ์ของตัวสินค้าให้เกิดความน่าเชื่อถือ ความสวยงาม โดยการออกแบบกราฟิกบนตัวฉลากสินค้าที่สอดคล้องกับลักษณะของบรรจุภัณฑ์ ฉลากสินค้าบางอย่างมีเพียงเฉพาะข้อความเท่านั้น บางอย่างมีรูปภาพประกอบอย่างสวยงาม
3.งานกราฟิกบนสิ่งพิมพ์ทั่วไป
1.การออกแบบปกหนังสือ ( Cover Design) มีหลักที่จะต้องพิจารณาก่อนดำเนินการดังนี้
1.1)พิจารณาถึงประเภทของหนังสือ
1.2)พิจารณาถึงบุคลิกของหนังสือ
1.3)พิจารณาถึงแนวทางสร้างสรรค์รูปแบบ
1.4)พิจารณาถึงวิธีการผลิต
1.5)พิจารณาถึงวัสดุที่ใช้ทำปก
2.การออกแบบจัดหน้า ซึ่งพอจะแบ่งได้ตามลักษณะและขนาดออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และหนังสือสำหรับเด็ก
2.1)หนังสือพิมพ์ คือ การรวบรวมเรื่องราว ภาพข่าว บทวิเคราะห์ สาระเกร็ดความรู้ และการโฆษณาต่างๆ ตลอดจนเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน
*วิธีการจัดหน้าคือ หนังสือพิมพ์แต่ละฉบับประกอบด้วย ส่วนของข้อความพาดหัวข่าว เนื้อข่าว ภาพข่าว และส่วนโฆษณา ในกระบวนการจัดหน้าจะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบรัดกุม เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้ตามกำหนดรายวัน
2.2)นิตยสาร คือ สื่อสิ่งพิมพ์ที่มีความแตกต่างจากหนังสือพิมพ์หลายลักษณะ ตั้งแต่ลักษณะเนื้อหา ขนาดรูปเล่ม ระบบการพิมพ์นิตยสารต้องการนำเสนอเนื้อหาทางด้านวิชาการ บทวิเคราะห์ บทความ แนวคิด การบันเทิง การกีฬา ฯลฯ นิตยสารจะไม่มุ่งไปที่ความสดใหม่ของข่าวสาร แต่จะเน้นด้านประโยชน์และสาระบันเทิงมากกว่า
*จุดมุ่งหมายของการจัดหน้า
1.เพื่อสร้างความสนใจให้กับผู้อื่น
2.เพื่อให้อ่านง่ายดูง่าย
3.รูปแบบและขนาด
*วิธีการจัดหน้า คือ ผู้ออกแบบหรือนักจัดหน้าควรเอาใจใส่ตั้งแต่ปกด้านในไปจนถึงปกหลังด้านใน การออกแบบโครงร่างของการจัดหน้าผู้ออกแบบต้องคิดเสมอว่าข้อมูลทุกๆหน้าจะต้องมีความสมบูรณ์ทุกด้านต้องมีเอกภาพทั้งหน้าเดี่ยวและหน้าคู่ การออกแบบต้องมีความสัมพันธ์กันระหว่างหน้าต่อหน้าทั้งหน้าซ้ายและหน้าขวาหรือด้านหน้าและด้านหลัง
2.3)หนังสือสำหรับเด็กเป็นสื่อเพื่อการเรียนรู้ที่จะช่วยโน้มน้าวให้เด็กๆเกิดความสนใจในเนื้อหา เกิดความเพลิดเพลินในการเรียนรู้โดยไม่ตั้งตัว การออกแบบจัดหน้ารูปเล่มและภาพประกอบจึงมีความสำคัญอย่างมากที่นักออกแบบจะต้องสร้างสรรค์ให้สอดคล้องกับความสนใจ
*จุดมุ่งหมายของการจัดหน้า
1.กระตุ้นความสนใจในเนื้อหา
2.ใช้สีสันเพื่อความเข้าใจในเนื้อหา
3.เพื่อต้องการให้เกดความรักหนังสือ
4.การออกแบบภาพต้องพิถีพิถัน สวยงาม
*แนวคิดของการจัดหน้า
การออกแบบการจัดหน้าหนังสือสำหรับเด็กจะมีลักษณะและวิธีการที่แตกต่างกันไปจากงานลักษณะอื่นๆ หนังสือประเภทนี้จะมุ่งเน้นการนำเสนอเนื้อหาด้วยภาพประกอบเป็นหลักและมีข้อความเป็นส่วนประกอบ
3.การออกแบบรูปเล่ม
ลักษณะของรูปเล่มจะเป็นแบบอย่างไรขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหลายประการ ตั้งแต่ความสะดวกในการหยิบอ่าน ความสวยงาม ความคล่องตัวในการพกพา ความสะดวกในการเก็บรักษา ความเหมาะสมกับขนาดความหนาของหนังสือ ความสอดคล้องกับระบบการจัดพิมพ์
*ความหนาของรูปเล่ม
การกำหนดความหนา หรือจำนวนหน้ากระดาษของเล่มจะต้องได้รับการวางแผนไว้ตั้งแต่เริ่มแรกของการวางแผนงาน โดยพิจารณาจากปริมาณของเนื้อหา ภาพประกอบ และการกำหนดรูปแบบของเล่มเพื่อกำหนดขนาดของคอลัมน์ข้อความ ขนาดความหนาจะต้องเป็นขนาดที่กระดาษมาตรฐานตัดลงตัว
*การเย็บเล่ม
เมื่อได้ดำเนินการในกระบวนการพิมพ์เสร็จเรียบร้อย ผู้พิมพ์จำเป็นจะต้องกระทำกับชิ้นงานพิมพ์นั้นให้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ กรณีที่เป็นโปสเตอร์อาจจะใช้งานได้เลย แต่ถ้าเป็นเอกสารต้องการเย็บเป็นรูปเล่ม ก็ต้องนำมาดำเนินการตามขั้นตอน
ในการพับเพื่อนำไปรวมเล่ม จะเป็นการพับกระดาษทีละแผ่นหรือที่ละยก ซึ่งแต่ละยกหรือแต่ละชุดเรียกว่า “ กนก ” (Signature) เมื่อพับครบยกแล้วจึงนำแต่ละกนกมาเย็บทำเป็นเล่มต่อไป
*วิธีการพับ
1.การพับด้วยมือ
2.การพับด้วยเครื่องจักร ซึ่งมี 2 วิธี คือ
2.1)เครื่องพับกระดาษแบบลูกกลิ้ง
2.2)เครื่องพับกระดาษแบบใบมีด
4.การออกแบบภาพประกอบ
การใช้ภาพประกอบในการสื่อความหมายในงานกราฟิกนับเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง จะเห็นว่าภาพสามารถทำหน้าที่ได้หลายทาง ได้แก่ อธิบายเนื้อหา ขยายความ สร้างความสนใจในเนื้อหาช่วยย่นระยะเวลาในการสื่อความหมายน้อยลง
*ลักษณะของภาพประกอบ
1)ภาพจริงหรือภาพเหมือนจริง
2)ภาพการ์ตูน
3)ภาพนามธรรม
4.การออกแบบกราฟิกสำหรับเครื่องฉาย
งานกราฟิกสำหรับเครื่องฉายหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์มีรูปแบบและวิธีการสร้างต่างไปจากงานออกแบบสิ่งพิมพ์ทั่วไป ทั้งกระบวนการผลิตงานและแนวคิดในการทำงาน งานออกแบบกราฟิกในลักษณะนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ออกแบบจะต้องมีความประณีตสูง เพราะต้นฉบับจะถูกถ่ายทำหรือถ่ายทอดลงบนฉากที่มีขนาดใหญ่ ทำให้ต้นแบบงานต้องมีอัตราส่วนการขยายภาพมากตามลักษณะการนำไปใช้ และเป็นการนำไปใช้โดยตรงด้วยกระบวนการที่ไม่ซับซ้อนเหมือนงานพิมพ์
*ข้อสังเกตในการทำต้นแบบ
1)การจัดทำต้นแบบสำหรับเครื่องฉายทุกประเภทควรเพิ่มหรือเผื่อพื้นที่ว่างทั้ง 4 ด้าน เพื่อความสะดวกในการถ่ายทำ
2)ขนาดสัดส่วนของต้นฉบับจะแตกต่างกันไปตามลักษณะงานแต่ละชนิด ดังนั้นผู้ออกแบบจะต้องกำหนดขนาดและสัดส่วนของต้นฉบับให้สอดคล้องกับการนำไปใช้
3)ควรกำหนดโครงสีที่ชัดเจน
4)งานกราฟิกเกี่ยวกับเครื่องฉายควรเน้นภาพมากกว่าข้อความ
5)การจดวางรูปแบบกรอบภาพนิยมจัดภาพในลักษณะแนวนอน เพราะให้ความรู้สึกเบาสบายตา
วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น